บทความ

การอ่าน

*  การอ่านเชิงวิจารณ์ หมายถึง การอ่านที่มี "การไตร่ตรอง การใคร่ครวญ การตรวจตรา"  การวิจารณ์ที่มีคุณค่าเป็นการพิจารณาลักษณะของสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่ามีข้อดีเด่นและมีข้อบกพร่องอะไรบ้าง เพื่อให้เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นอย่างละเอียด การวิจารณ์ไม่ใช่การจับผิด จึงไม่ควรแสวงหาข้อผิดพลาดมากกว่าที่จะชื่นชมคุณค่าของสิ่งที่ตนวิจารณ์ *  การอ่านแปลความ คือการแปลเรื่องราวเดิมให้ออกมาเป็นคำพูดใหม่หรือเป็นถ้อยคำใหม่แต่ยังคงรักษาเนื้อหาและสาระความสำคัญของเรื่องราวเดิมไว้อย่างครบถ้วน *  การอ่านตีความ คือการอ่านที่ผู้อ่านจะต้องใช้ความคิด พิจารณาสาระสำคัญของเรื่อง พยายามทำความเข้าใจความหมายของข้อความ เพื่อเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของสารที่ผู้เขียนต้องการสื่อ *  การอ่านขยายความ เป็นการอ่านเพื่อนำมาอธิบายเพิ่มเติมให้มีความละเอียดเพิ่มมากขึ้นจากเนื้อความเดิมที่มีอยู่ เพื่อให้ได้เนื้อความที่กว้างขวางออกไปจนเป็นที่เข้าใจยิ่งขึ้น

สำนวนไทยที่ถูกลืม

สำนวน "เห็นเขาขึ้นคานนั่ง เอามือประสานรัดก้น"                  ความในสำนวนนี้    แปลว่า     เห็นคนอื่นเขานั่งคานหามมีคนหามไป ตัวเองก็เอามือประสานกันเข้า ช้อนใต้ก้น เป็นทำนองว่า ตนก็นั่งคานหามเหมือนกันเป็นความหมายถึงการแสดงความทะเยอทะยาน ใฝ่สูงเกินศักดิ์ อยากจะทำตัวตามอย่างผู้สูงศักดิ์เขาบ้าง

สำนวนไทยที่ถูกลืม

สำนวน "ไก่กินข้าวเปลือก"          หมายความว่า                 สำนวนคำพังเพยประโยคนี้ ถ้าพูดให้เต็มความก็ต้องว่า 'ตราบใดที่ไก่ยังกินข้าวเปลือกอยู่ ตราบนั้นคนเราก็ยังอดกินสินบนไม่ได้' เข้าใจว่า เป็นคำพังเพยจีน จีนเอามาใช้เป็นสำนวนของเขาก่อน แล้วไทยเราก็เอามาแปลเป็นภาษาไทย ใช้กันอยู่มากในสมัยก่อนๆ